ประเภทความเรียงเยาวชน
สถานีที่
6 (ไทร)
ไทร ถือได้ว่าเป็นร่มเงาของสัตว์ป่า เนื่องจากสำต้นมีขนาดใหญ่เป็นพืชชนิดอิงอาศัย
เกาะพืชต้นอื่น แล้วดูดน้ำเลี้ยงถือเป็นห้างสรรพสินค้าของสัตว์ป่า
มีทั้งอาหาร เครื่องดื่มและที่อยู่อาศัยครบครัน การกระทำของไทรนี้จึงได้ชื่อว่า
"นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร"
สถานีที่
7 (ร่องรอยสัตว์ป่า) ในสถานีนี้เราต้องสวมบทเป็นนักสำรวจหาร่องรอยของสัตว์ป่า
ซึ่งพวกเราก็พบร่องรอยของกระทิงที่มากินอาหาร ซึ่งร่องรอยที่สัตว์ผ่านบ่อยๆ
เราจะเรียกทางนั้นว่า "ด่านสัตว์"
สถานีที่
8 (สันเขาเส้นทางน้ำของคน) เราไม่เคยรู้ว่าน้ำไหลสิ้นสุดที่ไหน
แต่ตามสันเขามักเป็นแหล่งกำเนิดน้ำที่ดี เมื่อน้ำไหลมาตามสันเขาป่าก็จะช่วยชะลอน้ำ
แต่ถ้าวันใดป่ามีอันต้องสูญไปแล้วเกิดน้ำท่วมก็จะไม่มีผู้ใดช่วยชะลอการไหลของน้ำ
โดยสิ่งที่เป็นเหตุให้ป่าลดน้อยลงก็เกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อนขึ้น
จนต้นไม้ทนความร้อนที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วไม่ได้ ล้มตายไปในที่สุด
สถานีที่
9 (การกลับมาของกระทิง) เมื่อป่ามีการกลับฟื้นคืนพร้อมระบบนิเวศน์โดยรวมของเขาแผงม้า
ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุ์ไม้และพันธุ์สัตว์ที่เคยสูญหายไปจากพื้นที่นี้หวนกลับคืนมา
โดยเฉพาะกระทิงสัตว์ป่าหายากที่กลายเป็นสัญสักษณ์ของขุนเขาแห่งนี้ก็ปรากฎตัวให้เห็นและเพิ่มจำนวนมากขึ้น
จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่ากระทิงมีการกลับมายังพื้นที่เดิมเกือบ 90
ตัว จน ณ วันนี้ที่แห่งนี้เป็นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถมองเห็นกระทิงตามธรรมชาติได้โดยง่าย
พอตกเย็นกิจกรรมในวันนี้ก็สิ้นสุดลง
รุ่งขึ้นของวันที่ 4 พวกเราจะได้ทำกิจกรรมทั้งวันในวันนี้ก็คือ การเดินป่าศึกษาธรรมชาติอีกเช่นเคย
แต่ในครั้งนี้จะแตกต่างจากเดิมตรงที่สภาพป่าที่เราจะได้ศึกษากัน ในวันนี้นั้นจะต่างไปจากป่าที่เราศึกษากันในวันก่อนๆ
เนื่องจากจุดประสงค์ของกิจกรรมในวันนี้ก็คือ การรู้ถึงผลกระทบจากการละเลยไม่ใส่ใจและทำลายทรัพยากรธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม
ทั้งตระหนักถึงการสร้าง รักษา เยียวยา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้ได้ผลประโยชน์ที่สุด
พื้นที่ที่ได้สำรวจในวันนี้มีสภาพแห้งแล้งมากมีต้นไม้ขึ้นไม่มาก ทำให้สภาพอากาศในวันนั้นร้อนอบอ้าวมาก
ความรู้สึกในตอนนั้นทำให้ฉันและพวกเราทุกคนรู้ซึ้งถึงความสำคัญของธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง
ก็ยังได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากพี่เจ้าหน้าที่เพิ่มด้วยว่า
ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท อันได้แก่
-
ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถเกิดใหม่ได้หรืออาจจะเกิดขึ้นใหม่
แต่ต้องใช้เวลายาวนานมาก
-
ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมด เป็นทรัพยากรที่นำมาแล้วยังเกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ
ไม่รู้จักหมด
-
ทรัพยากรที่นำมาใช้แล้วสามารถเกิดทดแทน สามารถใช้แล้วรักษาให้คงอยู่ได้
แต่ต้องมีการจัดการที่ดีและถูกต้อง
ทรัพยากรประกอบไปด้วย
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่า ทรัพยากรแร่ธาตุ
ทรัพยากรสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสุดท้ายก็คือทรัพยากรมนุษย์ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย
ก็อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
สงครามความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ความไม่รู้ความ
ความเชื่อ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความมักง่าย โดยเฉพาะความมักง่ายนี้ถือผลกระทบแห่งการกระทำเป็นอย่างดี
แต่ยังคงละเลยเอาความสุขสบายส่วนตัวเป็นที่ตั้งเท่านั้น การเดินทางศึกษาในวันนี้ไม่เพียงแต่เรา
จะได้เดินป่าศึกษาผลกระทบของการทำลายธรรมชาติ แต่เรายังได้ร่วมศึกษางานวิจัยสัตว์ป่า
(กระทิง) จากการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ทำให้ฉันได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับกระทิงเพิ่มขึ้นอีกด้วยว่า
กระทิงเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายวัว มีขนาดใหญ่ 650-900 กิโลกรัม ขนตามตัวมีสีดำ
บริเวณหน้าผากบนมีสีทองเหลืองเทาเป็นรูปใบโพธิ์ ขามีขนสีขาวคล้ายถุงเท้า
กระทิงที่เพิ่งเกิดใหม่ลำตัวจะมีขนสีน้ำตาลอ่อน ต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์เขาของกระทิงจึงจะงอกออก
วิธีการสังเกตเพศกระทิงแบบง่ายๆ ให้ดูตรงที่วงเขาของกระทิงถ้าวงเขาใหญ่จะเป็นเพศผู้
และอีกวิธีหนึ่งก็คือสังเกตที่โหนกคอของกระทิงถ้าเป็นตัวผู้จะสั้นกว่าตัวเมีย
โดยกระทิงจะอยู่รวมกันเป็นฝูงตามป่าดงดิบและป่าโปร่ง กินหญ้าและผลไม้ในป่า
ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ของพืชจากมูลกระทิง ปัจจุบันด้วยการคุกคามป่าอย่างไม่หยุด
จึงทำให้กระทิงลดลงเป็นจำนวนมากจนหาดูได้ยาก แต่ที่เขาแผงม้ามีความอุดมสมบูรณ์ทางพรรณไม้มีผลไม้ซึ่งเป็นอาหารของกระทิงเป็นจำนวนมาก
จึงทำให้พบเห็นกระทิงได้ง่าย ไม่เพียงเท่านั้นที่เขาแผงม้าแห่งนี้ก็ยังมีดินโป่ง
อาหารเสริมซึ่งเป็นที่ต้องการของกระทิง และเหตุที่กระทิงต้องการอาหารเสริมก็เพราะโป่งมีสารอาหารจำพวกโซเดียมและอื่นๆ
ที่กระทิงต้องการอยู่เป็นจำนวนมากอีกทั้งยังเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกของสัตว์
พวกสัตว์กินพืชรวมทั้งกระทิงจึงนิยมมากินดินโป่ง ทำให้เราพบร่องรอยของสัตว์มากินดินโป่งรวมทั้งรอยสัตว์ที่มากินสัตว์ที่มากินดินโป่งอีกทีด้วย
โดยโป่งแบ่งออกเป็น
2 ประเภทด้วยกันคือ โป่งจากธรรมชาติและโป่งเทียม ถ้าโป่งที่เป็นธรรมชาติก็จะแยกออกเป็น
3 โป่งด้วยกันคือ โป่งน้ำ-อยู่บริเวณน้ำกร่อยผาด โป่งดิน-เกิดจากการทับถมซากพืชซากสัตว์จนเกิดสารอินทรีย์ที่ทำให้ดินเค็มและสุดท้ายคือโป่งร้าง
โป่งไม่มีการใช้งานจนไม่มีความเค็มเหลืออยู่ ซึ่งบนเขาแผงม้านี้มีโป่งใหญ่ๆ
ด้วยกัน 2 แห่งก็คือ โป่งต้นมะขามกับโป่งรักษ์กระทิง และเพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์กระทิงพวกเราจึงรวมกันทำโป่งเทียมขึ้น
รวมทั้งสร้างแหล่งน้ำให้แก่กระทิงที่มากินดินโป่ง แม้ในวันนั้นแสงแดดจะแรงเพียงใดพวกเราก็ไม่ย่อท้อ
ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของเราทุกคนจึงทำให้การสร้างโป่งเทียมสำเร็จได้
เมื่อกิจกรรมในวันนี้เสร็จสิ้นลง และแล้วเวลาที่พวกเราทุกคนจะได้ลงพื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนก็มาถึง
ซึ่งชุมชนให้ที่ฉันได้ไปสำรวจก็คือ ชุมชนบ้านคลองทุเรียน
หลังจากที่พวกเราได้นำสัมภาระมาเก็บที่สวนลุงโชคซึ่งเป็นสถานที่ค้างแรมในชุมชนแล้ว
พวกเราก็ได้ไปลงสำรวจพื้นที่บ้านคลองทุเรียน ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนและจากการสำรวจในครั้งนี้เอง
ก็ทำให้ฉันได้ความรู้อะไรเพิ่มชึ้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตในชุมชน โรงเรียนเป็นสถานที่แรกที่ฉันได้ไปสำรวจโรงเรียนบ้านคลองทุเรียน
มีนักเรียนทั้งสิ้น 107 คน มีแห่งเดียวในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่คิดว่าการศึกษาเป็นเรื่องไม่สำคัญ
จึงทำให้ชุมชนนี้มีเฉพาะโรงเรียนประถมเพียงเท่านั้น บางชั้นก็มีนักเรียนเพียงแค่
2 คนก็มี หลังจากสำรวจโรงเรียนเสร็จฉันก็ได้ไปสัมภาษณ์ชาวบ้านคนหนึ่งที่อยู่ถัดออกไปจากโรงเรียน
ชาวบ้านคนนั้นได้เล่าว่า เขาอยู่ที่นี้มาได้ 20 กว่าปีแล้วมีอาชีพทำไร่
ทำสวน ใช้น้ำประปาอุปโภค ส่วนน้ำฝนใช้บริโภค เมื่อฉันได้ไปสัมภาษณ์ชาวบ้านคนอื่นๆ
ก็ทำให้ทราบว่า ชาวบ้านคนอื่นล้วนประกอบอาชีพและดำรงชีพในลักษณะที่คล้ายคลึงกันเกือบทั้งหมด
ไม่เพียงเท่านั้นฉันยังได้ไปสำรวจแหล่งน้ำของที่นี้ ที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตคนทั้งหมู่บ้าน
พบว่าค่อนข้างสะอาดอยู่ในเกณฑ์ดี พอตกเย็นเราทุกคนก็ได้มาร่วมสรุปเกี่ยวกับการลงพื้นที่ที่สำรวจชุมชนในวันนี้
ข้อสรุปของการสำรวจชุมชนที่ได้ก็คือ ชุมชนนี้มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ
แต่ด้วยการศึกษาน้อยจึงได้ทำให้เกิดการจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบผิดๆ
อาทิเช่น การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้ดินเสื่อมเร็ว และเมื่อดินเสื่อมก็จะพักดินไว้เฉยๆ
ไม่ทำอันใด จึงเป็นการปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้โดยไม่มีการใช้งานให้เกิดประโยชน์
ต่อมาเมื่อดินมีสภาพดีขึ้นชาวบ้านก็จะปลูกพืชไร่พืชสวนต่อ จากที่ฉันสังเกตุลักษณะผลผลิตของชาวบ้านแล้วรู้สึกว่า
ชาวบ้านชุมชนบ้านคลองทุเรียนจะมีฝีมือในการปลูกพืชดี ฉันจึงได้ถามถึงเคล็ดลับและรสชาติของผลผลิต
เชื่อไหมว่าชาวบ้านเหล่านี้ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาไม่เคยได้ทานผลผลิตที่พวกเขาปลูกเลย
สาเหตุไม่ใช่เพราะขายดีจนผลิตไม่ทันแต่เป็นเพราะพวกเขากลัวปุ๋ยเคมีที่เขาใส่ลงไปในพืชต่างหาก
และเมื่อใส่ปุ๋ยลงในพืชมากๆ สารเคมีเหล่านี้ก็จะไหลลงแหล่งน้ำสะสมเป็นสารพิษที่ทำให้คนในชุมชนอายุสั้นลง
เมื่อเราสรุปกิจกรรมสำรวจชุมชนเรียบร้อยแล้ว
ลุงโชคดีเจ้าของสวนลุงโชคผู้มีความรู้เกี่ยวกับชุมชนเป็นอย่างดี จึงได้กล่าวว่า
"ชุมชนนี้ถึงจะมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แต่เมื่อชาวบ้านรวมทั้งผู้นำชุมชน
ไม่รู้จักการบริหารจัดการชุมชนที่ถูกต้องก็จะทำให้ธรรมชาติเหล่านี้หมดไปและถึงกาลอวสาน
ฉะนั้นทุกคนในชุมชนจึงควรร่วมมือกันแก้ปัญหานี้โดยเร็วที่สุด"
ในวันต่อมาพวกเราทุกคนได้เดินศึกษาพื้นที่ที่มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกต้อง
ซึ่งมีแห่งเดียวในชุมชนบ้านคลองทุเรียนนั่นก็คือ "สวนลุงโชค"
นั่นเอง โดยสวนลุงโชคมีการบริหารจัดการพื้นที่ที่อาศัยทฤษฏีหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงในรูปแบบของเกษตรแบบยั่งยืน
ซึ่งลุงโชคดีให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบยั่นยืนแก่พวกเราโดยละเอียดว่า
เกษตรแบบยั่งยืนเป็นวิถีเกษตรที่ฟื้นฟูทรัพยากรและการดำรงรักษาไว้
ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศน์ สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างเพียงพอตามความจำเป็นพื้นฐาน
เพื่อคุณภาพที่ดีของชีวิตเกษตรกรและผู้บริโภคพึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ
รวมทั้งเอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนในท้องถิ่นพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นอิสระ
ทั้งนี้เพื่อความผาสุขและความอยู่รอดของมวลมนุษย์ชาติโดยรวม รูปแบบเกษตรยั่งยืนมีด้วยกัน
5 รูปแบบก็คือ
-
ปลูกพืชหมุนเวียนดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ
-
เกษตรผสมผสาน
-
เกษตรธรรมชาติ (ไม่ไถไม่พรวน)
-
เกษตรอินทรีย์
-
เกษตรทฤษฎีใหม่
ลุงโชคยังเล่าให้พวกเราฟังอีกว่า
แต่ก่อนลุงโชคเคยทำเกษตรแผนใหม่ที่มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจเป็นหลักใหญ่
แต่ต่อมานานเข้าก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงหันมาใช้หลักเกษตรกรรมยั่นยืนโดยยึดหลัก
10 ประการของเกษตรยั่งยืนที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทหลักในการพัฒนา
ใช้ทรัพยากรภายในลดใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกให้ความสำคัญในการฟื้นฟูดิน
หลีกเลี่ยงสารเคมีใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางธรรมชาติ ผลิตอาหารขึ้นมาเอง
เคารพธรรมชาติ และเอื้ออำนวยต่อเกษตรกรด้วยกัน ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญของเกษตรแบบยั่งยืนก็คือ
การมีทรัพยากรแบบสังคมที่ดี ไม่เพียงเท่านั้นเกษตรยั่งยืนยังสนับสนุนให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเสริมสร้างอาชีพอีกด้วย
จึงทำให้ลุงโชคประสบความสำเร็จที่อาศัยหลักเกษตรแบบยั่นยืน และก่อนจะกลับไปยังเขาแผงม้าลุงโชคก็ได้พาพวกเราไปเก็บผลไม้ปลอดสารพิษที่ลุงโชคปลูกเอง
โดยลุงโชคไม่เคยขายผลผลิตให้ใครเลยเพราะลุงโชคมีความสุขที่ได้แจกจ่ายผลไม้ที่ท่านปลูกเองให้กับคนอื่นๆ
ด้วยความสงสัยฉันจึงถามลุงโชคว่า ถ้าทำแบบนี้ไม่ขาดทุนหรือ ลุงโชคจึงยิ้มตอบฉันอย่างอารมณ์ดีว่า
ลุงไม่เคยคิดว่าลุงขาดทุนเพราะ ลุงมีความสุขที่ได้แบ่งปันผลผลิตที่ลุงปลูกเองให้กันคนอื่น
เวลาที่เขากินแล้วบอกว่าอร่อยนั้นแหละคือผลกำไรอันยิ่งใหญ่ที่ลุงได้รับ
"สำหรับลุงแล้วคำว่าขาดทุนจึงไม่มีหรอกหลาน"
คำพูดของลุงจึงทำให้ฉันคิดว่า
ลุงโชคควรค่าแก่การยกย่องที่จะเป็นผู้เสียสละและมีน้ำใจเพื่อส่วนรวมโดยแท้
สีหน้าของลุงโชคที่ยิ้มออกมาอย่างมีความสุขที่สุดนั้นคือ ผลที่ได้จากการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่เป็นหลักปรัชญาอันล้ำลึก
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นเป็นปรัชญาที่ยึดหลักพอดี
พอประมาณ และเกิดผลสำเร็จดั่งเช่นลุงโชค ฉันคิดว่าถ้าทุกคนรวมทั้งฉันปฎิบัติตามแบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงก็จะประสบผลสำเร็จได้ดังเช่นลุงโชค
เมื่อกิจกรรมสำรวจชุมชนจบสิ้นลงเราก็ได้กลับสู่ค่ายบนเขาแผงม้าอีกครั้ง
ซึ่งในวันพรุ่งนี้ก็จะเป็นวันสุดท้ายแล้วที่เราจะได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันบนเขาแผงม้า
พอวันรุ่งขึ้นก่อนจะเดินทางกลับพวกเราทุกคนได้ไปเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มรดกโลกที่ล้ำค่าก่อนกลับกัน
เมื่อใกล้จะเดินทางกับทุกคนก็ได้ให้คำมั่นสัญญาต่อขุนเขาแห่งนี้ว่า
สักวันพวกเราจะกลับมาที่นี้อีกครั้งพร้อมกับประสบการณ์ในการทำงานปกป้องพิทักษ์ป่าและธรรมชาติมาเล่าสู่กันฟัง
การเดินทางกลับหลังจากค่ายสิ้นสุดลงแม้จะเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ เพียงเสี้ยวเวลาของชีวิต
แต่ก็ดีใจที่เสี้ยวเวลาที่ล้ำค่า ฉันขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมผจญภัยกันมาบนเส้นทางแห่งความฝันสายเดียวกันนี้
ประสบการณ์อันล้ำค่าที่มิอาจลืม
หลังจากที่ฉันได้ไปเข้าค่ายเพื่อปลูกจิตสำนึกในการรักป่า
รักษ์ธรรมชาติทั้ง 2 ค่ายนี้ ทำให้ฉันได้เรียนรู้ถึงการดำรงชีพให้อยู่ได้แบบพอดี
พอเพียง พึ่งพา และผูกพัน การเข้าค่ายในป่าอาศัยอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติโดยมีท้องฟ้าเป็นหลังคา
มีธาราคอยเป็นเพื่อน แม้การเข้าค่ายจะไม่สุขสบายเท่าไรนักแถมการดำรงชีพอยู่ในป่านั้นยังเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก
จนบ้างครั้งก็ทำให้ฉันรู้สึกท้อแต่ฉันก็ยังมีกำลังใจรู้สึกสู้ต่อไป
จากเพื่อนร่วมค่ายและเพื่อนอีกคนที่ชื่อว่า ป่า เบื้องหลังแห่งความพยายามทำให้ฉันได้มาซึ่งความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน
ความสุขที่จะไม่มีวันดับสลายไป ซึ่งความสุขนั่นก็คือการได้มีชีวิตอยู่ทามกลางธรรมชาติที่งดงามและมีแต่ให้
ความสุขที่ได้มีส่วนร่วมในการปกป้องพิทักษ์ป่าผู้เปรียบดั่งมิตรแท้ของฉัน
ฉันต้องขอขอบคุณพี่ๆ เจ้าหน้าที่ทุกคนรวมทั้งเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ รวมค่ายที่ต่างเสียสละเพื่ออุดมการณ์เดียวกันโดยเฉพาะลุงตั๋น
ลุงโชคและแม่ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ฉันอนุรักษ์ป่าและต่อสู้เพื่อปกป้องธรรมชาติเหล่านี้
แม้การเข้าค่ายทั้งสองแห่งได้จบลงไปแล้วแต่คำมั่นสัญญาในการดูแลปกป้องป่าที่ฉันได้ให้ไว้มันพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น...
ลมหายใจของฉัน |
คือความรักของป่า |
ลมหายใจของป่า
|
ก็คือความรักของฉัน |
ฉันกับป่า
|
มีลมหายใจเดียวกัน |
ฉันกับป่า
|
รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน |
พึ่งพาไม่แปรผัน
|
ผูกพันยึดมั่น |
เมื่อใดสิ้นป่า
|
ก็ถึงคราฉันหมดลม |
ชื่อ |
:
|
นางสาวอธิจิต วาจาสุวิมล |
วัน/เดือน/ปีเกิด |
:
|
5 มีนาคม 2535 |
ที่อยู่ |
:
|
77/18 ซอยภูมิจิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
10110
โทร 02 392 6899 มือถือ 089 773 2537
อีเมล์ : ninja-535@hotmail.com |
การศึกษา |
|
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ |
|
|